วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3

ประวัติ  พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย  อาจารยางกรู)
 (น้อย อาจารยางกูร) เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.. 2365 ตรงกับวันศุกร์ เดือนแปด แรม 2 ค่ำ ปีมะแม บิดาชื่อทองดี มารดาชื่อบัว
การศึกษา 6 – 7 ขวบ โดยเรียนกับพี่ชายซึ่งบวชเป็นพระภิกษุอยู่ ณ วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทราพออายุ 13 ปี เรียนหนังสือไทยกับพระกรรมวาจาจารย์ชื่อ จัน และเรียนหนังสือขอมกับ พระครูวิหารกิจจานุการ และเรียนพระธรรมวินัยจากสำนักอาจารย์ต่างๆ ใช้เวลาศึกษาหาความรู้อย่างวิริยะ อุตสาหะ จนมีความรู้แตกฉานทั้งหนังสือไทย หนังสือขอมและบาลี สันสกฤต พ.. 2385 อุปสมบท ณ วัดสระเกศ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับพระวิเชียรปรีชา (กลิ่น) เมื่ออุปสมบทครบ 3 พรรษา ก็ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมในที่ประชุมพระราชาคณะที่วัดราชบูรณะได้เปรียญ5 ประโยค ต่อมาได้สมัครเข้าศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่ครั้งยังผนวชอยู่ ครั้นอุปสมบท 6 พรรษา ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกเป็นครั้งที่สอง สอบได้เปรียญ 7ประโยค มีลูกศิษย์มากมาย เพราะเป็นผู้ที่มีความรู้แตกฉาน ความปราดเปรื่องของท่านเป็นที่ทราบทั่วไปจึงมีผู้นำบุตรหลานมาฝากเป็นศิษย์เรียนหนังสือไทย และหนังสือขอมเป็นจำนวนมากพ.. 2395 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น พระประสิทธิสุตคุณ ที่พระราชาคณะวัดสระเกศ
   
ผลงานที่สำคัญ
      ผลงานสำคัญที่เป็นคุณเอนกอนันต์แก่ประเทศชาติ คือท่านได้แต่งแบบเรียนภาษาไทยไว้หลายเล่ม ได้แก่ มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ อนันตวิภาค เขมรากษมาลา ปกีรณพจนาดถ์ พรรณพฤกษา สัตวาภิธาน และนิติสารสาธก สมเด็ยพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2542
สิ่งที่ประทับใจ
          ท่านมีความสามารถทางด้านภาษาไทยท่านได้แต่งหนังสือภาษาไทยที่สำคัญๆไว้หลายเรื่อง
  ที่มา  http://www.wikipedia.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น